รอบรู้เรื่อง DW

รอบรู้เรื่อง DW

Derivative Warrants คืออะไร

ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants) หรือเรียกสั้นๆ ว่า DW เป็นตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิกับผู้ซื้อในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์อ้างอิงในอนาคตในราคา จำนวน และเวลาที่กำหนด โดยผู้ออก DW เป็นบุคคลที่สาม ซึ่งไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนผู้ออกหลักทรัพย์อ้างอิงแต่เป็นบริษัทหลักทรัพย์

ความแตกต่างระหว่าง Company Warrants และ Derivative Warrants (DW) ทั้ง DW และ Warrants ซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ โดยมีความแตกต่างกันดังนี้


Company Warrants
Derivative Warrants (DW)
ผู้ออก
บริษัทจดทะเบียน
บริษัทหลักทรัพย์
รายละเอียดสัญญา
กำหนดโดยบริษัทจดทะเบียน
กำหนดโดยผู้ออก DW
วันครบกำหนดอายุ
5-10 ปีนับแต่วันเริ่มซื้อขาย
2 เดือน - 2 ปีนับแต่วันเริ่มซื้อขาย
ประเภทของสิทธิ
Call เท่านั้น
ทั้ง Call และ Put
การใช้สิทธิ
ผู้ออกเพิ่มทุนเพื่อรองรับการใช้สิทธิ
ไม่มีผลต่อจำนวนหุ้นจดทะเบียน
ผู้ดูแลสภาพคล่อง
ไม่มี
มี

ประเภทของสิทธิสำหรับ DW

1.คอลวอร์แรนต์ (Call Warrants) เป็นหลักทรัพย์ที่ให้สิทธิแก่นักลงทุนในการซื้อสินค้าอ้างอิง ตามราคาและเงื่อนไขอื่นที่กำหนดไว้ โดยที่มูลค่าของคอลวอร์แรนต์จะเพิ่มขึ้นเมื่อมูลค่าของหุ้นอ้างอิงเพิ่มสูงขึ้น

1

Date
SPCG
SPCG CALL DW
1 ส.ค. 2014
24.8
0.40
5 ส.ค. 2014
25.25
0.43
7 ส.ค. 2014
25.75
0.44
14 ส.ค. 2014
26.75
0.49
DW ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบตามระยะเวลาที่เท่ากัน (7 วัน)
8%
23%

ราคาของคอลวอร์แรนต์ที่อ้างอิงกับ SPCG (SPCG CALL DW) เคลื่อนไหวสอดคล้องกับราคาของหุ้นอ้างอิง (SPCG) โดยเมื่อราคาของหุ้น SPCG ปรับตัวสูงขึ้น ราคาของ SPCG CALL DW จะปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกัน แต่โดยเปรียบเทียบแล้วจะพบว่าคอลวอร์แรนต์จะให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าหุ้นอ้างอิงเมื่อมูลค่าของหุ้นอ้างอิงปรับตัวสูงขึ้น

2. พุทวอร์แรนต์ (Put Warrants) เป็นหลักทรัพย์ที่ให้สิทธิแก่นักลงทุนในการขายสินค้าอ้างอิงตามราคาและเงื่อนไขอื่นที่กำหนดไว้ โดยที่มูลค่าของพุทวอร์แรนต์จะเพิ่มขึ้นเมื่อมูลค่าของหุ้นอ้างอิงลดต่ำลง

2

Date
ADVANC
ADVANC PUT DW
9 ก.ค. 2014
225
1.2
18 ก.ค. 2014
215
1.3
23 ก.ค. 2014
207
1.39
29 ก.ค. 2014
202
1.45
DW ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบตามระยะเวลาที่เท่ากัน (14 วัน)
-10%
21%

ประโยชน์จากการลงทุนใน DW

1. DW ขาดทุนจำกัดแต่กำไรไม่จำกัด ผลขาดทุนจากการลงทุนใน DW ถูกจำกัดอยู่ที่เงินลงทุนเริ่มต้น แต่ผลกำไรนั้นไม่จำกัด

3

Call WarrantsPut Warrants
DW CALL ราคา 1 บาท ราคาใช้สิทธิ 8 บาท อัตราส่วนการใช้สิทธิ 2 : 1DW PUT ราคา 0.6 บาท ราคาใช้สิทธิ 147 บาท อัตราส่วนการใช้สิทธิ 2 : 1

กรณีที่ 1

หุ้นแม่ปิดที่ราคา 20 ณ วันสิ้นสุดอายุ

สัญญา กำไร (20 - 8)/2 - 1 = 5

กรณีที่ 1

หุ้นแม่ปิดที่ราคา 171 ณ วันสิ้นสุดอายุสัญญา

ขาดทุน 0.6 (ไม่ใช้สิทธิ)

กรณีที่ 2

หุ้นแม่ปิดที่ราคา 5 บาท ณ วันสิ้นสุดอายุสัญญา

ขาดทุน 1 (ไม่ใช้สิทธิ)

กรณีที่ 2

หุ้นแม่ปิดที่ราคา 130 บาท ณ วันสิ้นสุดอายุสัญญา

กำไร (147 - 130)/2 - 0.6 = 7.9

2. DW มี Leverage แต่ไม่มี Margin Call เมื่อเปรียบเทียบระหว่างหุ้นอ้างอิง, บัญชีมาร์จิ้น, ฟิวเจอร์ และ DW จะพบว่า DW นั้นใช้สัดส่วนเงินลงทุนที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้นอ้างอิง หรือมี Leverage คล้ายกับบัญชีมาร์จิ้นและฟิวเจอร์ แต่ DW นั้นไม่ได้มีการกำหนดให้ต้องวางเงินประกันสำหรับการซื้อขาย เนื่องจากการซื้อขาย DW มีลักษณะที่เหมือนกับการซื้อขายหุ้นปกติ ดังนั้นในการซื้อขาย DW จะไม่มีการเรียกเงินประกันส่วนเพิ่มหรือ Margin Call

Leverage
Margin
Call
หุ้นอ้างอิง
ไม่มีไม่มี
บัญชีมาร์จิ้น
มี
มี
ฟิวเจอร์
มี
มี
DW
มี
ไม่มี

3. ใช้เงินที่น้อยกว่าในการลงทุน DW

4

4.ป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุน

ในกรณีที่นักลงทุนถือหุ้นอยู่ นักลงทุนสามารถป้องกันความเสี่ยงจากราคาหุ้นปรับตัวลดลงได้โดยการซื้อ PUT DW ที่อ้างอิงราคาหุ้นแม่ตัวที่นักลงทุนถืออยู่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงขาลง เมื่อใดที่ราคาหุ้นแม่ปรับตัวลดลง นักลงทุนจะได้กำไรจากการถือ Put Warrants มาชดเชยผลขาดทุนจากหุ้นแม่

5

5.สภาพคล่องสูง

ในการซื้อขาย DW มีสภาพคล่องที่สูงเนื่องจากมีผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการสร้าง Bid Offer ของ DW ให้สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นแม่ ดังนั้นนักลงทุนจะสามารถมั่นใจได้ว่าสามารถซื้อขาย DW ได้ตามราคาที่ต้องการ

6.สามารถลงทุนได้ทั้งตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง

เมื่อนักลงทุนมองว่าตลาดจะเป็นขาขึ้นสามารถทำกำไรได้จากการเข้าไปซื้อ Call DW และ เมื่อนักลงทุนมองว่าตลาดจะเป็นขาลงสามารถทำกำไรได้จากการเข้าไปซื้อ PUT DW

7.ซื้อขายเสมือนหุ้นตัวหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์

การซื้อขาย DW นั้นเสมือนกับการซื้อขายหุ้นตัวหนึ่ง เนื่องจากว่าการซื้อขาย DW นั้นทำการซื้อขายบนกระดานเหมือนกับหุ้นสามัญปกติ

6

8. สามารถทำกำไรได้แม้ราคาสินค้าอ้างอิงจะเปลี่ยนแปลงไปไม่มาก

เนื่องจาก DW นั้นมีอัตราทดที่แท้จริงหรือ Effective Gearing Ratio เมื่อเทียบกับหุ้นแม่ เช่น DW มีค่าอัตราทด 4 เท่า กล่าวคือถ้าราคาหุ้นแม่ปรับตัวไป 1% ราคาของ DW อาจจะปรับตัวไป 4% ดังนั้นนักลงทุนมีโอกาสที่จะทำกำไรได้สูงแม้ราคาสินค้าอ้างอิงเปลี่ยนแปลงไปไม่มาก หากลงทุนใน DW ที่มีอัตราทดที่สูง

การอ่านชื่อย่อ Derivative Warrants

UUUU : ชื่อสินค้าอ้างอิง 4 หลัก เช่น INTU, PTT, TRUE

I I : รหัสผู้ออก เช่น 27 = RHBS

YY : ปีที่ DW หมดอายุ

MM : เดือนที่ DW หมดอายุ

C : ประเภท DW โดย C = Call และ P = Put

A : รุ่นของ DW เช่น A, B, C = รุ่นที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ

ตัวอย่างการอ่านชื่อย่อ Derivative Warrants

TRUE13C1312A

  • หุ้นอ้างอิง: TRUE
  • ผู้ออก : สมาชิกหมายเลข 13 (KGI)
  • ประเภท : Call Warrant
  • ปีที่หมดอายุ : 2013
  • เดือนที่หมดอายุ : ธันวาคม
  • รุ่น : A

TRUE08P1404A

  • หุ้นอ้างอิง: TRUE
  • ผู้ออก : สมาชิกหมายเลข 08 (ASP)
  • ประเภท : Put Warrant
  • ปีที่หมดอายุ : 2014
  • เดือนที่หมดอายุ : เมษายน
  • รุ่น : A

ซื้อขาย DW ได้จากไหน?

DW เป็นหลักทรัพย์ที่ซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์เหมือนกับหุ้นทั่วไป โดยนักลงทุนที่มีบัญชีหุ้นอยู่แล้วสามารถทำการซื้อขาย DW ในช่องทางเดียวกับการซื้อขายหุ้น ส่วนนักลงทุนที่ไม่มีบัญชีหุ้นอยู่สามารถเปิดบัญชีกับ บริษัทหลักทรัพย์ อาร์เอชบี โอเอสเค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผ่านทางศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ 02 862 9797-8 ในวันจันทร์ถึงศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 - 17.00 น. อีเมล rhbosk.th.info@rhbgroup.com

ความเสี่ยงจากการลงทุนใน DW

  1. Market Risk ได้แก่ การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นอ้างอิงรวมถึงปัจจัยอื่นที่กระทบตลาด เช่น ความผันผวน, ดอกเบี้ย เป็นต้น
  2. DW ที่มีอัตราทด (Gearing) สูงจะทำให้ราคาของ DW แกว่งตัวแรงเมื่อเทียบกับราคาหุ้นอ้างอิง
  3. สภาพคล่องในตลาดรอง (Liquidity Risk) เช่น Market Maker ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ครบถ้วน
  4. DW มีวันหมดอายุ โดย DW หมดอายุก่อนที่หุ้นจะขึ้นหรือลงตามความคาดหวัง และ Time Decay ทำให้ราคา DW ลดลงแม้ว่าปัจจัยอื่นๆ จะไม่เปลี่ยนแปลง
  5. เหตุการณ์พิเศษ เช่น Corporate Event ที่ที่มีผลกับ DW มาก รวมถึง หุ้นอ้างอิงถูกระงับการซื้อขายหรือถูก Delist

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ DW

  1. อัตราการใช้สิทธิ (Conversion Ratio): อัตราการใช้สิทธิเป็นอัตราส่วนที่บอกถึงจำนวน DW ที่ใช้ในการและเปลี่ยนเป็นหุ้นอ้างอิง อัตราการใช้สิทธิสามารถเขียนอยู่ในรูปของสัดส่วนเช่น อัตราการใช้สิทธิ 2:1 แปลว่า เมื่อทำการใช้สิทธิ (Exercise) เพื่อทำการซื้อ/ขาย หุ้นอ้างอิง จะต้องใช้ DW จำนวน 2 ตัวเพื่อจะได้หุ้นอ้างอิง 1 หุ้น หรือสามารถเขียนอยู่ในรูปของจุดทศนิยมได้เป็น 0.50 (1/2 = 0.50)
  2. การใช้สิทธิแบบ European Style: DW ที่ซื้อขายในตลาดปัจจุบันมีลักษณะการใช้สิทธิแบบ European Style หมายความว่า นักลงทุนสามารถใช้สิทธิในการซื้อหรือขายหุ้นตามราคาใช้สิทธิ (Strike Price) ได้ก็ต่อเมื่อถึงวันใช้สิทธิเท่านั้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่วันใช้สิทธิจะถูกกำหนดให้ใกล้เคียงกับวันที่ DW จะหมดอายุ (Maturity Date)
  3. เดลต้า (Delta): เดลต้าเป็นตัวแปรที่ใช้ประมาณค่าการเปลี่ยนแปลงของราคา DW เมื่อราคาหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนแปลง เช่น เดลต้าเท่ากับ 30% แปลว่าเมื่อราคาหุ้นเปลี่ยนแปลง 1 บาท ราคาของ DW จะเปลี่ยนแปลงไปเท่ากับ 0.3 บาท ในกรณีของ Call DW ค่าเดลต้าจะเป็นบวก เนื่องจากราคาของ DW จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกับหุ้นอ้างอิง ส่วนในกรณีของ Put DW ค่าเดลต้าจะเป็นลบ เนื่องจากราคาของ DW จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับหุ้นอ้างอิง
  4. DW27 Playbook: เป็นเครื่องมือในการใช้ประกอบการลงทุนใน DW โดย DW27 Playbook นี้จะช่วยให้นักลงทุนสามารถที่จะประมาณการเปลี่ยนแปลงของราคา DW ล่วงหน้าเมื่อราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงไป
  5. Leverage: การลงทุนที่ใช้เงินลงทุนแรกเริ่มที่น้อยกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ที่ต้องการลงทุน เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ดังกล่าว การลงทุนแบบ Leverage จะพบได้ในการลงทุนผ่านหลายช่องทางเช่น การลงทุนในหุ้นผ่านบัญชีมาร์จิ้นหรือ การเปิดสถานะใน Futures โดยนักลงทุนจะต้องวางเงินประกันแรกเริ่ม (Initial Margin) สำหรับการซื้อขายตามข้อกำหนดของสินค้าแต่ละชนิด
  6. อัตราทด (Gearing Ratio) และอัตราทดที่แท้จริง (Effective Gearing Ratio):อัตราทด (Gearing Ratio) เป็นตัวบอกว่าอัตราผลตอบแทนที่จะได้เป็นจำนวนเท่าจากการลงทุนใน DW เมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้นแม่
  7. ราคาของ Derivative Warrants ประกอบด้วย Intrinsic Value + Time Value: Intrinsic Value คือมูลค่าที่มีอยู่จริงของ DW ซึ่งจะเท่ากับเงินที่จะได้รับเมื่อใช้สิทธิทันที โดย Intrinsic Value คำนวนได้จากค่า Intrinsic Value ที่เป็นบวกจะเรียก DW ว่ามีสถานะ In-the-Money และสถานะที่ค่า Intrinsic Value เป็นลบจะเรียก DW ว่ามีสถานะ Out-of-the-money สำหรับกรณีที่ค่า Intrinsic Value เป็นศูนย์จะเรียกว่า DW มีสถานะ At-the-money โดยสถานะของ DW เป็นตัวบ่งชี้ว่านักลงทุนควรใช้สิทธิ (Exercise) หรือไม่ โดยนักลงทุนจะใช้สิทธิแล้วได้กำไร (ไม่คิดต้นทุน DW) เมื่อ DW อยู่ในสถานะ In-the-MoneyTime Value คือมูลค่า DW จากเวลาที่เหลืออยู่ โดยถ้าหากว่าเวลาเหลือมาก โอกาสใช้สิทธิมากขึ้น จะส่งผลให้มูลค่า Time Value สูงขึ้น ดังนั้นจะสังเกตได้ว่า DW ที่มีอายุเหลือน้อยราคาจะต่ำกว่า DW ที่มีอายุเหลือเยอะ เนื่องจากมีมูลค่า Time Value ที่ต่ำ
  8. การเสื่อมถอยลงของมูลค่า DW ตามระยะเวลา (Time Decay): คือการเสื่อมถอยลงของมูลค่า DW ตามระยะเวลา แม้ว่านักลงทุนยังไม่ได้ทำอะไร ราคา DW ก็ลดลงทุกวัน โดยค่า Theta เป็นตัววัดอัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป 1 วัน ซึ่งค่าการเปลี่ยนแปลงจะสูงเมื่อ DW มีสถานะ At-the-money และใกล้หมดอายุ
  9. ความผันผวนแฝง (Implied Volatility): ความผันผวนของหลักทรัพย์อ้างอิงที่คำนวณมาจากราคาของ DW ที่ซื้อขายอยู่ในตลาด โดย DW ที่มีค่าความผันผวนแฝงสูงกว่าจะมีราคาที่สูงกว่า

สถานะของของ DW

S = ราคาหุ้นอ้างอิง, K = ราคาใช้สิทธิ

Moneyness
Call option
Deep Out-of-The-Money (DOTM)
S < K โดยที่ S ต่ำกว่า K มากๆ
Out-of-The-Money (OTM)
S < K
At-The-Money (ATM)
S = K
In-The-Money (ITM)
S > K
Deep In-The-Money (DITM)
S > K โดยที่ S สูงกว่า K มากๆ
Moneyness
Put option
Deep In-The-Money (DITM)
S < K โดยที่ S ต่ำกว่า K มากๆ
In-The-Money (ITM)
S < K
At-The-Money (ATM)
S = K
Out-of-The-Money (OTM)
S > K
Deep Out-of-The-Money (DOTM)

S > K โดยที่ S สูงกว่า K มากๆ

เลือก DW ให้เหมาะกับตัวเอง

  1. เทรดระยะสั้นเน้นรวดเร็ว (ประมาณ 1 สัปดาห์) เน้น DW ที่มี Effective Gearing สูง (มากกว่า 3 เท่า) และค่า Time Decay ต่อวันที่ต่ำDW ที่มี Effective Gearing สูงจะช่วนให้นักลงทุนสามารถทำกำไรได้สูงกรณีคาดการณ์ทิศทางตลาดได้ถูกต้อง ถึงแม้ราคาหุ้นแม่จะขยับไปไม่มาก ประกอบกับค่า Time Decay ต่อวันที่ต่ำจะช่วยให้ในระยะเวลาที่ถือ DW อยู่ มูลค่าของ DW ในส่วนของ Time Value จะปรับตัวลดลงไม่มากนักหรือไม่ปรับตัวลดลงเลย
  2. ถือระยะปานกลาง (ประมาณ 2 อาทิตย์ถึง 1 เดือน) เน้น DW ที่มี Effective Gearing ที่ต่ำประมาณ (2-3 เท่า) ค่า Time Decay ต่อวันที่ต่ำมากๆ และ Implied Volatility ต่ำDW ที่มี Effective Gearing ที่ต่ำ จะช่วยให้ราคาไม่ผันผวนมากนัก และ ค่า Time Decay ต่อวันที่ต่ำมากจะทำให้ตลอดระยะเวลาที่ถือครอง ราคา DW จะปรับตัวลดลงไม่มากนักจากผลของเวลา อีกทั้ง Implied Volatility ที่ต่ำกว่าแสดงให้เห็นว่าราคา DW ณ เวลานั้นถูกกว่าโดยเปรียบเทียบกับ DW ที่มี Implied Volatility ที่สูง
  3. สถานะของ DW มีผลต่อค่า Effective Gearing ดังนี้
สถานะของ DW
ค่า Effective Gearing
Out-of-The Money (OTM)
สูง
At-The-Money (ATM)
ปานกลาง
In-The-Money (ITM)
ต่ำ

ข้อกำหนดสิทธิ DW

ดาวน์โหลดเอกสารข้อกำหนดสิทธิ DW คลิก